วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

หลักเบื่องต้นการฝึกอิมโพรไวส์

หลักเบื่องต้นการฝึกอิมโพรไวส์

การImprovisationนั้น เรียกเป็นภาษาง่ายๆก็คือการด้นสดหรือสร้างท่วงทำนองสดๆนั่นเอง แต่ก่อนที่เราจะไปทำแบบนั้นได้เราต้องเตรียมตัวอะไรยังไงบ้างมาดูกัน

   เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าดนตรีก็เป็นภาษาสื่อสารแบบนึง สังเกตุได้ว่าเวลาเราพูดกับคนอื่นเราจะสามารถพูดได้ทันทีโดยไม่ต้องเตรียมตัว เราสามารถตอบโต้ได้เพราะเราฟังออกเราพูดได้แม้ว่าเราจะเขียนไม่ได้ก็ตาม 

เปรียบเทียบกับการอิมโพรไวส์แล้ว แบ่งได้เป็น2ประเภท

1. แบบไม่เตรียมตัว = การเล่นสดๆโดยได้ยินดนตรีนั้นครั้งแรกโดยไม่มีการเตรียมตัวมาก่อนก็เปรียบเสมือนการที่เราพูดตอบโต้ในชีวิตประจำวันทั่วไป เช่นไปที่ทำงานเจอเพื่อนถามโน้นนี้เราจะสามารถตอบไปได้ทันทีโดยไม่ต้องเตรียมตัวเราไม่เคยต้องนึกก่อนว่าจะพูดอะไรบ้าง อยากพูดอะไรก็พูดไป

2. แบบเตรียมตัว = เปรียบได้กับเวลาคนเราขึ้นไปกล่าวอะไรบนเวทีซักอย่างหรือพวกเดี่ยวไมคโครโฟนเป็นต้น คือเตรียมโครงและรายละเอียดสิ่งที่จะพูดหรือจะเล่น ว่าตรงจุดนี้จะเล่นประมาณไหนยังไง แล้วไปผสมกับความสดบนเวทีอีกทีเพื่อจะได้ไม่ดูอิมโพรไวสสดมากจนออกทะเลเกินไป มีการซ้อมมาก่อนเป็นต้น 

แต่การที่เราจะทำ2แบบข้างต้นได้แน่นอนพื้นฐานคือเราต้องพูดเป็นก่อนถูกมั้ย? ที่นี้เราจะทำยังไงให้เราพูดผ่านเครื่องดนตรีเราได้ คิดง่ายๆครับลองนึกย้อนกลับไปตอนเราหัดพูด การพูดการฟังของเราเกิดจากชีวิตประจำวันที่ทำซ้ำๆทั้งวันและทุกวันและใช้เวลานับหลายๆปี การพูดของเราจะดูโตขึ้นมีภาษาที่ดีขึ้นตามอายุของเรา 
    เปรียบเทียบกับดนตรีได้ว่า
 -  Scale และตัวโน็ตก็คือคำศัพท์ต่างๆ 
 -  เทคนิคหรือสำเนียงต่างๆ ก็คือการฝึกออกเสียงนั้นเอง เช่น ร เรือ ล ลิง S H Z และน้ำหนักเสียงอารมณ์ในการพูดเป็นต้น
 -  วลี(Phrasing)หรือlickก็คือประโยคต่างๆ 

   ถามว่าเราต้องฝึกScale กี่แบบเยอะแค่ไหน ก็ต้องถามตัวเองว่าเราอยากมีศัพท์เยอะขนาดไหนหรือเอาแค่ที่จำเป็นต้องใช้ เพราะในชีวิตประจำวันเองเราอาจจะไม่รู้ศัพท์ภาษาไทยบางคำด้วยซ้ำว่ามันมีความหมายว่าอะไรถูกมั้ย ดังนั้นอันนี้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นมากกว่า
    
   ฝึกอืมโพรไวส์ก็เหมือนฝึกพูด (Conversation) เราลองนึกภาพตอนเราฝึกพูดภาษาอังกฤษก็ได้ เราเริ่มจากท่องศัพท์(Scale) และต่อด้วยเรียนรู้ประโยคต่างๆ(Phrasing,Licks) เมือเราหัดทั้ง2อย่างได้ประมาณนึงแล้วและรู้ความหมายของมัน ขั้นตอนต่อไปคือนำมาพูดจริงๆ ซึ่งก็คือการลองJamนั่นเองอาจจะกับBandจริงหรือbackingtrackก็แล้วแต่ ส่วนการฝึกสำเนียงก็คือการเลียนสำเนียงภาษานั่นเอง เหมือนตอนเราเลียนสำเนียงฝรั่งพูดประโยคเช่น My name is ... ว่ายังไง มันกระเด้ะมันเน้นสูงต่ำตรงไหน ในทางดนตรีก็เช่นเดียวกัน มันก็คือการแกะเพลงนั่นเอง ยิ่งแกะมากและพยายามเลียนสำเนียงให้มากเราก็จะได้สำเนียงที่ดีมาจากเพลงนั้นๆ ยิ่งหลายเพลงเข้าๆเราก็จะยิ่งมีสำเนียงที่ชัดขึ้น ตรงจุดนี้ไม่ต้องมาคิดมากหรอกว่าจะกลัวเหมือนคนโน้นคนนี้มันเป็นทัศนคติที่ปิดกั้นตัวเองสุดๆ คุณคิดว่าคุณโตขึ้นมาตั้งแต่เกิดคุณพูดเหมือนใครบ้างล่ะในแต่ละช่วงเวลาเด็กจนแก่ เริ่มแรกคุณเลียนแบบพ่อแม่พี่น้องต่อมาคุณเลียนแบบเพื่อนครูบาอาจารย์ดาราที่ชอบ สิ่งเหล่านี้มันจะหล่อหลอมจนเวลาผ่านไปคุณจะมีความถนัดมีรูปแบบการพูดที่จะรู้ว่าเป็นตัวคุณแสดงออกมาเอง ถ้าลองทั้งชีวิตคุยอยู่กับคน2คนตลอดชีวิตไม่เคยได้ยินภาษามนุษย์จากคนอื่นเลย คุยก็จะมีสำเนียงเหมือนไอ้2คนนี้รวมกันนั้นแหละ ในทางดนตรีก็เช่นเดียวกัน ฟังยิ่งเยอะแกะยิ่งเยอะคุยก็จะยิ่งมีสำเนียงที่ดีและชัดเจนๆขึ้นจนสุดท้ายมันจะหล่อหล่อมจนเป็นคุณเอง คุณอาจจะอิมโพรไวสได้แม้ไม่รู้ในทางทฤษฎีเลยก็เป็นได้ ไม่ต่างอะไรจากคนที่พูดคล่องแต่เขียนไม่ได้ซักตัว แต่ถ้าคุณอยากก้าวหน้าอยากมีความรู้คุณก็ต้องไปลงเรียนหนังสืออยู่ดีถูกมั้ย? นั่นหละเช่นกัน พอมาถึงจุดนึงคุณต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อขยายขอบเขตภาษาคุณให้ดีขึ้น กับดนตรีในที่นี้ก็จะเป็นเรื่องเรียนโครงสร้างเสียงประสาน และความสัมพันธ์ของModeกับ Chordต่างๆเป็นต้น ซึ่งก่อนหน้านั้นบางคนอาจจะเล่นไปได้โดยไม่รู้เลยมันก็ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่สุดท้ายจะเจออาการที่เรียกว่า"ตัน"เพราะความรู้น้อยเป็นต้น

ดังนั้นถ้าถามว่าจะเริ่มต้นฝึกอิมโพรไวส์ยังไง ผมตอบได้เลยว่าหัดแกะเพลงเยอะๆ ฝึกScaleเท่าทีจำเป็นเรียนรู้KeyและChordแล้วหัดแจมไปตามเสียงที่เกิดขึ้นในหัวบ่อยๆ เมื่อตันหรือนึกไม่ออกก็ฟังเพลงหาประโยคใหม่มาเพิ่มแล้วกลับไปแจมใหม่ทำแบบนี้ซ้ำๆทั้งวันและทุกวันให้เหมือนเป็นภาษาที่คุณต้องพูดอยู่ทุกวัน แล้วสิ่งต่างๆจะทยอยตามมาเอง

สรุปเรื่องราวและความหมายของคำว่า"Improvisation"ได้ประมาณนี้นะครับหวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

คลิปตัวอย่าง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น