วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

การแกะเพลง และการแกะคอร์ด ในเพลงต่างๆ


การแกะเพลง และการแกะคอร์ด ในเพลงต่างๆ

อันนี้เป็นการเล่าสู่กันฟังละครับ เพื่อที่มือใหม่จะได้ลองเอาไปใช้ ดูนะครับ
ผมยกตัวอย่างเพลงของ พี่ป้อมอัสนี มานะครับ ในเพลง สิทธิ์ของเธอ แต่เอกลักษณ์ในการคิดไลน์โซโลของพี่ป้อม จะเด่นชัดมาก เนื่อกจาก จะเป็นโน้ตในทำนองเพลงซะส่วนใหญ่ แต่นำมาเล่นในช่วงเสียงที่ สูงกว่าแนวเมโลดี้ธรรมดา อันที่นี้ อาจจะยก ช่วงนี้เป็น 1 หรือ 2 ช่วงก็ได้ เราได้ ความเหมาะสม ของเสียงที่เราฟัง
มือใหม่ ผมแนะนำให้หาเพลงแนวนี้ มาลองแกะดู ในเบื้องต้น เพราะ สัดส่วนจะไม่ยาก และจะไม่เร็ว ทำให้สามารถใช้หูจับ แล้วร้องออกมาเป็นท่อน เพื่อหาเสียงที่เราได้ยินกับกีต้าร์ที่ได้ตั้งสายในคีย์มาตรฐานถูกต้องแล้ว
มาดูที่คอรด์นะครับ คอรด์ที่ใช้ในเพลงนี้
E G#m / C#M / F#m B / E E7/A B /G#m C#m/F#m/B /
แต่ถ้าน้องสังเกตดี จะพบว่าคอรด์ที่มารองรับแนวโซโล่จะเป็นคอรด์ที่ใช้ในท่อน Hook ของเพลง ซึ่งจะมีคอรด์ วางอยู่ในห้องเดียว 1 คอรด์ และ ห้องเดียวมี 2 คอรด์ สิ่งเราจะพบว่า ท่อนโซโล่ของเพลงนี้ จะมีทั้งหมด 8 Bar เหรอว่าแปดห้อง แนวโซโล่หลักจะอยู่ในคอรด์หลักที่วางไว้อยู่แล้ว

แต่สิ่งที่ผมอยากให้ น้อง ลองฝึกดู ก็คือการ ฝึกเคาะเท้าไปกับ เพลงเวลา ถึงช่วงโซโล่ แล้วลองแบ่งห้องดู อาจจะยังไม่ต้องแกะคอรด์ออกมาก็ได้ เพราะมือใหม่อาจจะยากไปในคราวแรก การเคาะเท้าในช่วงแรก อาจจะงง เพราะเพลงนี้ ท่อนโซโล่จะเล่นในจังหวะ ยกของจังหวะที่ 3 ก่อนจะเข้า Bar ที่ 1 ของ ท่อน โซโล่ ซึ่งตรงนี้ก็เขียนออกมาให้เป็นนามธรรมค่อนข้างไม่ชัดเจน ซึ่งเราจะจะเคาะไปก่อน ผิด บ้าง ถูกบ้าง อย่างใจร้อน รีบแกะโซโล่เลย เพราะสิ่งที่จะทำให้โซโล่เพราะกลมกลืน ก็คือ Background ของRhythm ซึ่งประกอบด้วย Chord Bass Drum ต่างๆ ที่คอยทำหน้าที่ ทำให้ไลน์ โซโล่ กลมกลืนกับเพลง
แล้วเคาะเท้าไปทำไม เสียเวลา ฟังเสียงแล้วแกะเลยไม่ได้เหรอ ได้ครับ แต่บางอย่างเราคิดว่าเราทำไมได้ แต่จริงแล้ว เราไม่ได้ทำต่างหาก เพราะการแกเพลงนี้ หัวใจก็คือ Chord Progression ถ้าคุณแกะคอรด์ออกได้ แล้วแบ่งห้องให้ถูก การแกะโซโล่นั้นจะง่ายมาก แต่เสียงที่ออกมา คนแกะแต่และคนอาจจะเลือกใช้ในช่วงเสียงที่แตกต่างกัน แต่จริงแล้ว เป็นโน้ตเดียวกัน
เพราะถ้าคุณแคอรด์ออกมาได้แล้ว คุณจะสามารถ ทำให้ โซโล่ เล่นได้อย่าง สอดคล้องกับคอรด์ โดยสมดุล ทำให้เราเล่นได้อย่างลงตัว ไม่คร่อม จังหวะ และ ไม่เร็ว ไม่ช้า กว่าจังหวะ จริง


อันนี้เป็น แนวทางเล่าสู่กันฟังในการแกะคอรด์นะครับ
ในขั้นแรก มือใหม่ อาจจะยังไม่จำเป็นต้อง เจาะลึกเรื่องคอรด์มากนักครับ เพราะอาจจะทำให้งงงวยได้ ในเบื้อง เราทำความเข้าใจคร่าวๆว่า ในKey นั้น จะประกอบด้วยคอรด์อะไรบ้าง
ผมยกตัวอย่างให้ในคีย์ E Major ซึ่งส่วนตัวผมชอบคีย์นี้มาก แล้วก็มีหลายเพลงที่นิยมเล่นในคีย์นี้
Key E
จะประกอบด้วยคอรด์
E F#m G#m A B C#M D#Ddim
แต่ที่มานั้น เพื่อนน้องก็ไปขยายความศึกษาเพิ่มเติม
1 2 3 4 5 6 7
เพราะฉะนั้น ในคีย์ E Major จะประกอบด้วย คอรด์พวกนี้หลักๆ แต่ไม่เสมอมานะครับ แต่ถ้าน้อง แกะเพลง ตลาดทั่วไป จะเจอคอรด์พวกนี้ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แล้วเราจะรู้ได้ว่าเพลงที่เราแกะ อยู่ในคีย์อะไร อันนี้ ผมบอกว่า ต้องใช้ความรู้สึกจับครับ ทำไงละ
จับกีต้าร์ที่ตั้งสายมาตรฐานแล้ว หยิบขึ้นมา เล่นคลำไปกับ เสียงที่เราได้ยิน ถ้าคอรด์ไหนไม่ใช่ มันจะเกิดการขัดแย้งในเสียงที่เราเล่น และเสียงที่เราได้ยิน แต่ผมบอกว่า ถ้าเราแกะเพลงพวกอคูกติกจะง่าย ให้ฟังตอนจบเพลง กับขึ้นต้นเพลงไว้ เพราะ มันกจะเริ่มด้วยคอรด์แรก และจบด้วยคอรด์สุดท้าย ตามหลักของการ Arranning
สมมุติ ว่าจับได้แล้ว ว่าเพลงที่เราเล่น นั้นเป็น Key E ฉะนั้น จะต้องประกอบด้วยคอรด์ที่ผมกล่าวมาข้างต้น E F#m G#m A B C#M D#Ddim แต่มันจะวางอยู่ตรงไหน ก็อีกเรื่องหนึ่ง แล้วผมจะรู้ได้ไงว่ามันวางตรงไหน ฟังเพลงที่เราจะแกะคอรด์ ให้พอร้องได้ แล้วเอาคอรด์ที่ ใช้ในคีย์นั้น มามาเล่นต่อกันให้หมดโดมิโน่ แล้วลองฟังดู ว่า ร้องแล้ว เปลี่ยนคอรด์มันจะกลมกลืนไหม มันอาจจะช้า ไม่ทันใจ เสียเวลา เปิดหนังสือเพลงดีกว่า เล่นตามแท็ปดีกว่า ในขั้นแรกมันอาจะยังไม่ได้ แต่ถ้าเราทำบ่อยๆ ทำซ้ำๆซาก แล้วมันจะเกิดความรู้สึกจับเสียงได้ ว่าเสียงที่เราได้ยินเป็นเสียงอะไร เล่นตรงไหน 

เมเจอร์สเกล (Major Scale)

 เมเจอร์สเกล (Major Scale)

เมเจอร์ สเกล นั้นเป็นหลักพื้นฐานของสเกลอื่นๆ ทุกสเกลจะสร้างขึ้นมาโดยยึดหลักพื้นฐานโครงสร้างมาจากเมเจอร์สเกล ดังนั้น เมเจอร์สเกลจึงถือเป็นแม่แบบของสเกลอื่นๆ

      สเกล ก็คือ กลุ่มของโน๊ตที่เรียงกัน เป็นลำดับขั้น มีการจัดเรียงระดับของเสียงอย่างมีรูปแบบ มีเสียงห่างกันเป็นที่แน่นอน เวลาเล่นกลุ่มโน๊ตนั้นๆ จะได้สำเนียง เป็นแบบๆไป เป็นสำเนียงเฉพาะตัวของสเกลนั้นๆ เช่น สเกล Major (เมเจอร์) จะให้ความรู้สึกที่สนุกสนาน ฟังสบาย สเกล Minor (ไมเนอร์) จะให้ความรู้สึกที่เศร้า เหงา หดหู่...

      ความหมายของ OCTAVE คือ โน้ตตัวเดียวกัน ที่เสียงสูงขึ้น หรือต่ำ ลงมา 8 ขั้น เช่น ในเมเจอร์สเกล โน้ตตัวแรก กับ ตัวสุดท้ายจะห่างกัน 1 OCTAVE 

     โครงสร้างของ Major Scale 
โครงสร้างของของเมเจอร์สเกลนั้นคือ โน้ตตัวที่ 3 กับ 4 และ 7 กับ 8 จะห่างกันแค่ครึ่งเสียง ส่วนโน้ตตัวอื่นจะห่างกัน 1 เสียงเต็ม 
TAB ของ C Major Scale
      ลองฝึกไล่สเกลตามแท็บด้านบนดูนะครับ การฝึกไล่สเกลจะเป็นพื้นฐานที่ใช้ในการเล่น Solo การแกะเพลง ทำให้เราเล่นได้คล่องขึ้น และยังสามารถทำให้เราจำโน๊ตหรือรูปแบบการไล่สเกลบนคอกีตาร์ได้... 
ตำแหน่งโน๊ตบนคอกีต้าร์ ของ C Major Scale ตามแท็บด้านบน


หลักเบื่องต้นการฝึกอิมโพรไวส์

หลักเบื่องต้นการฝึกอิมโพรไวส์

การImprovisationนั้น เรียกเป็นภาษาง่ายๆก็คือการด้นสดหรือสร้างท่วงทำนองสดๆนั่นเอง แต่ก่อนที่เราจะไปทำแบบนั้นได้เราต้องเตรียมตัวอะไรยังไงบ้างมาดูกัน

   เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าดนตรีก็เป็นภาษาสื่อสารแบบนึง สังเกตุได้ว่าเวลาเราพูดกับคนอื่นเราจะสามารถพูดได้ทันทีโดยไม่ต้องเตรียมตัว เราสามารถตอบโต้ได้เพราะเราฟังออกเราพูดได้แม้ว่าเราจะเขียนไม่ได้ก็ตาม 

เปรียบเทียบกับการอิมโพรไวส์แล้ว แบ่งได้เป็น2ประเภท

1. แบบไม่เตรียมตัว = การเล่นสดๆโดยได้ยินดนตรีนั้นครั้งแรกโดยไม่มีการเตรียมตัวมาก่อนก็เปรียบเสมือนการที่เราพูดตอบโต้ในชีวิตประจำวันทั่วไป เช่นไปที่ทำงานเจอเพื่อนถามโน้นนี้เราจะสามารถตอบไปได้ทันทีโดยไม่ต้องเตรียมตัวเราไม่เคยต้องนึกก่อนว่าจะพูดอะไรบ้าง อยากพูดอะไรก็พูดไป

2. แบบเตรียมตัว = เปรียบได้กับเวลาคนเราขึ้นไปกล่าวอะไรบนเวทีซักอย่างหรือพวกเดี่ยวไมคโครโฟนเป็นต้น คือเตรียมโครงและรายละเอียดสิ่งที่จะพูดหรือจะเล่น ว่าตรงจุดนี้จะเล่นประมาณไหนยังไง แล้วไปผสมกับความสดบนเวทีอีกทีเพื่อจะได้ไม่ดูอิมโพรไวสสดมากจนออกทะเลเกินไป มีการซ้อมมาก่อนเป็นต้น 

แต่การที่เราจะทำ2แบบข้างต้นได้แน่นอนพื้นฐานคือเราต้องพูดเป็นก่อนถูกมั้ย? ที่นี้เราจะทำยังไงให้เราพูดผ่านเครื่องดนตรีเราได้ คิดง่ายๆครับลองนึกย้อนกลับไปตอนเราหัดพูด การพูดการฟังของเราเกิดจากชีวิตประจำวันที่ทำซ้ำๆทั้งวันและทุกวันและใช้เวลานับหลายๆปี การพูดของเราจะดูโตขึ้นมีภาษาที่ดีขึ้นตามอายุของเรา 
    เปรียบเทียบกับดนตรีได้ว่า
 -  Scale และตัวโน็ตก็คือคำศัพท์ต่างๆ 
 -  เทคนิคหรือสำเนียงต่างๆ ก็คือการฝึกออกเสียงนั้นเอง เช่น ร เรือ ล ลิง S H Z และน้ำหนักเสียงอารมณ์ในการพูดเป็นต้น
 -  วลี(Phrasing)หรือlickก็คือประโยคต่างๆ 

   ถามว่าเราต้องฝึกScale กี่แบบเยอะแค่ไหน ก็ต้องถามตัวเองว่าเราอยากมีศัพท์เยอะขนาดไหนหรือเอาแค่ที่จำเป็นต้องใช้ เพราะในชีวิตประจำวันเองเราอาจจะไม่รู้ศัพท์ภาษาไทยบางคำด้วยซ้ำว่ามันมีความหมายว่าอะไรถูกมั้ย ดังนั้นอันนี้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นมากกว่า
    
   ฝึกอืมโพรไวส์ก็เหมือนฝึกพูด (Conversation) เราลองนึกภาพตอนเราฝึกพูดภาษาอังกฤษก็ได้ เราเริ่มจากท่องศัพท์(Scale) และต่อด้วยเรียนรู้ประโยคต่างๆ(Phrasing,Licks) เมือเราหัดทั้ง2อย่างได้ประมาณนึงแล้วและรู้ความหมายของมัน ขั้นตอนต่อไปคือนำมาพูดจริงๆ ซึ่งก็คือการลองJamนั่นเองอาจจะกับBandจริงหรือbackingtrackก็แล้วแต่ ส่วนการฝึกสำเนียงก็คือการเลียนสำเนียงภาษานั่นเอง เหมือนตอนเราเลียนสำเนียงฝรั่งพูดประโยคเช่น My name is ... ว่ายังไง มันกระเด้ะมันเน้นสูงต่ำตรงไหน ในทางดนตรีก็เช่นเดียวกัน มันก็คือการแกะเพลงนั่นเอง ยิ่งแกะมากและพยายามเลียนสำเนียงให้มากเราก็จะได้สำเนียงที่ดีมาจากเพลงนั้นๆ ยิ่งหลายเพลงเข้าๆเราก็จะยิ่งมีสำเนียงที่ชัดขึ้น ตรงจุดนี้ไม่ต้องมาคิดมากหรอกว่าจะกลัวเหมือนคนโน้นคนนี้มันเป็นทัศนคติที่ปิดกั้นตัวเองสุดๆ คุณคิดว่าคุณโตขึ้นมาตั้งแต่เกิดคุณพูดเหมือนใครบ้างล่ะในแต่ละช่วงเวลาเด็กจนแก่ เริ่มแรกคุณเลียนแบบพ่อแม่พี่น้องต่อมาคุณเลียนแบบเพื่อนครูบาอาจารย์ดาราที่ชอบ สิ่งเหล่านี้มันจะหล่อหลอมจนเวลาผ่านไปคุณจะมีความถนัดมีรูปแบบการพูดที่จะรู้ว่าเป็นตัวคุณแสดงออกมาเอง ถ้าลองทั้งชีวิตคุยอยู่กับคน2คนตลอดชีวิตไม่เคยได้ยินภาษามนุษย์จากคนอื่นเลย คุยก็จะมีสำเนียงเหมือนไอ้2คนนี้รวมกันนั้นแหละ ในทางดนตรีก็เช่นเดียวกัน ฟังยิ่งเยอะแกะยิ่งเยอะคุยก็จะยิ่งมีสำเนียงที่ดีและชัดเจนๆขึ้นจนสุดท้ายมันจะหล่อหล่อมจนเป็นคุณเอง คุณอาจจะอิมโพรไวสได้แม้ไม่รู้ในทางทฤษฎีเลยก็เป็นได้ ไม่ต่างอะไรจากคนที่พูดคล่องแต่เขียนไม่ได้ซักตัว แต่ถ้าคุณอยากก้าวหน้าอยากมีความรู้คุณก็ต้องไปลงเรียนหนังสืออยู่ดีถูกมั้ย? นั่นหละเช่นกัน พอมาถึงจุดนึงคุณต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อขยายขอบเขตภาษาคุณให้ดีขึ้น กับดนตรีในที่นี้ก็จะเป็นเรื่องเรียนโครงสร้างเสียงประสาน และความสัมพันธ์ของModeกับ Chordต่างๆเป็นต้น ซึ่งก่อนหน้านั้นบางคนอาจจะเล่นไปได้โดยไม่รู้เลยมันก็ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่สุดท้ายจะเจออาการที่เรียกว่า"ตัน"เพราะความรู้น้อยเป็นต้น

ดังนั้นถ้าถามว่าจะเริ่มต้นฝึกอิมโพรไวส์ยังไง ผมตอบได้เลยว่าหัดแกะเพลงเยอะๆ ฝึกScaleเท่าทีจำเป็นเรียนรู้KeyและChordแล้วหัดแจมไปตามเสียงที่เกิดขึ้นในหัวบ่อยๆ เมื่อตันหรือนึกไม่ออกก็ฟังเพลงหาประโยคใหม่มาเพิ่มแล้วกลับไปแจมใหม่ทำแบบนี้ซ้ำๆทั้งวันและทุกวันให้เหมือนเป็นภาษาที่คุณต้องพูดอยู่ทุกวัน แล้วสิ่งต่างๆจะทยอยตามมาเอง

สรุปเรื่องราวและความหมายของคำว่า"Improvisation"ได้ประมาณนี้นะครับหวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

คลิปตัวอย่าง


ไมเนอร์สเกล (Minor Scale)

ไมเนอร์สเกล (Minor Scale)


สูตรโครงสร้างของ Minor Scale คือลดเสียงของโน้ตตัวที่ 3 , 6 และ 7 ของเมเจอร์ลงครึ่งเสียง
TAB ของ C Minor Scale
      ลองฝึกไล่สเกลตามแท็บด้านบนดูนะครับ การฝึกไล่สเกลจะเป็นพื้นฐานที่ใช้ในการเล่น Solo การแกะเพลง ทำให้เราเล่นได้คล่องขึ้น และยังสามารถทำให้เราจำโน๊ตหรือรูปแบบการไล่สเกลบนคอกีตาร์ได้...



วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ติดต่อได้ที่



ชื่อ : นายวัฒนา  นามสกุล : วัฒนศิริ
ชื่อเล่น : ไอซ์     อายุ : 19 ปี
วันเกิด : วันอังคาร ที่ 21  เดือน มิถุนายน  พ.ศ.2537
Email : themajorband83@gmail.com
เรียนคณะ : ครุศาสตร์    หลักสูตร : คอมพิวเตอร์
รหัสนักศึกษา : 5681135003
อาหารที่ชอบ : ข้าวผัดรวมมิตร
คติประจำใจ : พรุ่งนี้ก็เช้า